วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พันธะโควาเลนต์

1.           พันธะโคเวเลนต์ (covalent bond)
เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน (share) ของอะตอมธาตุอโลหะ เพื่อทำให้อะตอมแต่ละอะตอมมีมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนครบแปด หรือเหมือนแก๊สเฉื่อย
อะตอมที่ใช้อิเล็กตรอนร่วมกันเรียกว่า อะตอมคู่ร่วมพันธะ


ถ้าอะตอมคู่ร่วมพันธะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน  1  คู่จะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ที่เรียกว่า พันธะเดี่ยว  เช่น ในโมเลกุลของน้ำ


ถ้าอะตอมคู่ร่วมพันธะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน  2  คู่จะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ที่เรียกว่า พันธะคู่  เช่น ในโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์

ถ้าอะตอมคู่ร่วมพันธะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน  3 คู่จะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ที่เรียกว่า พันธะสาม เช่น ในโมเลกุลของไนโตรเจน




                 

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พันธะเคมี

พันธะเคมี คือแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมภายในโมเลกุลหรือระหว่างโมเลกุลด้วยกันเองเพื่อทำให้วาเลนต์อิเล็กตรอนมีค่าเท่ากับแปด เพื่อที่จะทำให้อะตอมนั้น ๆ มีความเสถียรและสามารถดำรงค์อยู่อย่างอิสระ พันธะเคมีสามารถแบ่งได้หลายประเภท เช่น
  • พันธะโควาเลนต์(covalent bond) คือการใช้วาเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกัน อันเนื่องมาจากมีค่า EN (อิเล็กโตเนกาติวิตี) ใกล้เคียงกัน และเคลื่อนที่มาอยู่ในวงโคจรที่เหมาะสม และมีพลังงานศักย์ต่ำที่สุด
  • พันธะโคออดิเนทโควาเลนต์
  • พันธะโลหะ(Metallic bond)
  • พันธะไอออนิก(Ionic bond)   เกิดจากแรงดึงดูดระหว่างไอออนบวกและไอออนลบ อันเนื่องมาจากการถ่ายโอนอิเล็กตรอนระหว่างโลหะกับอโลหะ
  • พันธะไฮโดรเจน(hydrogen bonds)